ประเทศไทยนับว่าเป็นศูนย์กลางการผลิตชั้นนำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แห่งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการผลิตรถยนต์ หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติถือว่าเป็นหัวใจของการเพิ่มผลผลิตทางอุตสาหกรรมมาโดยตลอด การได้รับความนิยมของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมคือประจักษ์พยานของการแทรกซึมแผ่ขยายทางเทคโนโลยีและแสดงถึงความเป็นไปได้ของการนำระบบอัตโนมัติเข้าแทนที่แรงงานเดิม แม้หุ่นยนต์ถูกนำมาใช้งานเป็นเวลาหลายทศวรรษ แต่ว่าพึ่งจะได้ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเร็วๆ นี้ ทั้งนี้เป็นผลจากเทคโนโลยีหุ่นยนต์อันล้ำหน้าและพัฒนาการของหุ่นยนต์ไฮเทคหรือหุ่นยนต์อัจฉริยะ หุ่นยนต์เหล่านี้นำไปใช้ไม่ใช่แค่เพียงในภาคการผลิตและการทดแทนแรงงาน ตัวอย่างการใช้งานเช่น บางซุปเปอร์มาร์เก็ตเริ่มใช้หุ่นยนต์แทนพนักงานอำนวยความสะดวกลูกค้า ส่วน Amazon และค้าปลีกรายอื่น ๆ กำลังนำร่องร้านค้าปราศจากแคชเชียร์ แต่บทความฉบับนี้นำเสนอศักยภาพและประเด็นทางพัฒนาการของระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติของประเทศไทย


ข้อมูลจากสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (International Federation of Robotics: IFR) แสดงให้เห็นว่ามีการสั่งซื้อหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นสามเท่าทั่วโลกในช่วงปี 2003 – 2015 และยังมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก ความนิยมของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมิได้จำกัดอยู่ประเทศที่พัฒนาแล้วเท่านั้น แต่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่จำนวนไม่น้อยที่ตามรอยกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วดังกล่าวซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย

นอกจากการแพร่กระจายนวัตกรรมแล้ว เศรษฐกิจโลกได้เชื่อมโยงบูรณการผ่านการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น การค้าในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศเศรษฐกิจเกิดขับเคลื่อนก่อกำเนิดเป็น GDP ที่ร่วมกันสร้างกันขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผานมา ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายแห่งรวมทั้งประเทศไทยกำลังมีบทบาทสำคัญในตลาดโลก ในฐานะผู้ส่งออกและผู้นำเข้า และเกิดความก้าวหน้าอย่างมากในประเทศไทยในแง่ของการเข้าถึงการศึกษา สร้างสมศักยภาพในการขับเคลื่อนไปสู่ความเป็นประเทศไทย 4.0 รัฐบาลมียุทธศาสตร์ที่มุ่งสู่เศรษฐกิจทางทักษะและเทคโนโลยีมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อรับมือกับกำลังแรงงานที่หดตัวของประเทศ ด้วยการเพิ่มคุณภาพประชากรเชิงผลิตภาพ

รัฐบาลได้ดำเนินการผลักดันเพื่อสร้างบุคลากรในสาขา STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์) และ STI (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม) ให้มีจำนวนมากขึ้น ความเป็นในการสร้างบุคลากรในระดับอุดมศึกษาในสาขาเหล่านี้สะท้อนออกมาให้เห็นในแผนพัฒนาประเทศทุกระดับภาคส่วน เช่น รวมถึงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนการปฏิรูปประเทศอื่น ๆ บุคลากรสาขาเหล่านี้จำเป็นต่อการขับเคลื่อนประเทศอันเป็นของนโยบายของรัฐบาลปัจจุบัน อย่างเช่นการพัฒนาไปสู่การเป็น Thailand 4.0

ขณะที่เกิดการขาดแคลนทรัพยากรบุคคลในภาคการศึกษา กลับเป็นว่ามีความล้นเกินในอุตสาหกรรมการเกษตร ปัญหาการขาดแคลนในระดับวิชาชีพในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนทักษะทางปัญญาที่สำคัญ เช่น การใช้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ การเขียน และการอ่านเพื่อความเข้าใจ รวมถึงทักษะทางสังคม เช่น ทักษะเชิงบริการและทักษะทางเทคนิค (เช่น การเขียนโปรแกรมและการออกแบบเทคโนโลยี) นอกจากการขาดแคลนและการล้นเกินในทักษะดังที่กล่าวมาแล้ว ยังพบความไม่สอดคล้องของคุณสมบัติความสามารถของแรงงานในตลาดอยู่จำนวนมากอย่างมีนัยสำคัญในแง่ของระดับการศึกษาและสาขาวิชาชีพ


มีแรงงานไทยที่คุณสมบัติความสามารถที่เกินเกณฑ์อยู่เป็นจำนวนมากและพบได้ทั่วไปในงานขายและการบริการมีอยู่ถึงร้อยละ 59 ในงานโรงงานและในงานเครื่องจักรและการประกอบพบถึงร้อยละ 50 อุตสาหกรรมที่แรงงานมีคุณสมบัติความสามารถเกินความจำเป็นสูงที่สุดคืออุตสาหกรรมค้าส่งและค้าปลีกพบถึงร้อยละ 48และอุตสาหกรรมที่พักและบริการอาหารมีอยู่ 48ในทางตรงกันข้าม แรงงานที่มีคุณสมบัติความสามารถต่ำกว่าที่ควรจะเป็นพบได้บ่อยที่สุดในตำแหน่งงานผู้จัดการอยู่ที่ร้อยละ 35.5 และพนักงานสนับสนุนธุรการอยู่ที่ร้อยละ 35 ส่วนระดับวุฒิการศึกษาไม่สอดคล้องกับงานพบได้เป็นเรื่องปกติในบางวิชาชีพและในบางอุตสาหกรรม นอกจากนี้ความไม่สอดคล้องของสาขาวิชาชีพและงานปรากฎอยู่อย่างแพร่หลายทั่วไปในกลุ่มแรงงานความเชี่ยวชาญด้านศิลปะและมนุษยศาสตร์อยู่ที่ร้อยละ 83 และกลุ่มแรงงานทาง ICT สูงถึงร้อยละ 87

ในการนำพาประเทศก้าวผ่านอุตสาหกรรม 4.0 และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลให้ประสบผลสำเร็จ ประเทศไทยจำเป็นต้องให้ความสำคัญและมีเวทีเพื่อหยิบยกความท้าทายเชิงระบบของทักษะแรงงานและโอกาสจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขึ้นมาถกเถียง แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากแต่ก็เป็นเรื่องจำเป็น เพื่อสร้างหลักรับประกันว่าการเรียนรู้ของแรงงานไทยสั้นสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จำเป็นเพื่อให้แน่ใจว่าการเรียนรู้ของผู้ใหญ่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ดี นโยบายของไทยในปัจจุบันยังไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างงานและแรงงานในโครงสร้างงานที่เปลี่ยนไป
Article by: Asst. Prof. Suwan Juntiwasarakij, Ph.D. & MEGA Tech