เทคโนโลยีและนิเวศน์อุตสาหกรรม 4.0 ไม่ว่าจะเป็น หุ่นยนต์ขั้นสูง การพิมพ์สามมิติ ความเป็นจริงแต่งเติม และการจำลองโรงงานดิจิทัลแบบเรียลไทม์ ไม่เพียงแต่จะช่วยให้ผู้ผลิตสามารถปรับปรุงความเร็วและผลผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญ แต่ยังเสริมศักยภาพยกระดับสู่การแข่งขันบนเวทีโลก ทำให้สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ตระหนักถึงโอกาสในการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคโดยทันที บทความนี้จึงขอนำเสนอพัฒนาการของของประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่สอดรับกับอุตสาหกรรม 4.0

Rethinking Asian Manufacturing, BCG
ในขณะที่การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่ (4IR) กำลังเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลก ประเทศสมาชิกอาเซียนได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อสร้างประชาคมดิจิทัลอาเซียน โดยเรียนรู้แนวทางและนโยบายร่วมกัน ในที่สุดวันที่ 29 เมษายน แนวคิด 4IR ได้รับการยอมรับในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 30 ณ กรุงมะนิลา กรอบยุทธศาสตร์ 4IR โดยประชาคมอาเซียนดิจิทัลได้ถูกหยิบยกขึ้นมานำเสนอและหารือเป็นครั้งแรก

Consolidated Strategy on the Fourth Industrial Revolution for ASEAN, Association of Southeast Asian Nations (ASIAN) 2021.
แนวปฏิบัติ “Smart Nation Roadmap” ของสิงคโปร์ได้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานของภูมิภาคในช่วงแรก โดยรัฐบาลสิงคโปร์ระดมทุนเสริมสร้างขีดความสามารถแรงงานให้สอดครับกับแผนงาน ส่วนรัฐบาลฮานอยเองก็ส่งเสริมการพัฒนา ICT ด้วยแรงจูงใจด้านการเงินการภาษี เพิ่มทักษะให้กับแรงงานโดยมุ่งเน้นวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

มาเลเซียตอบรับกรอบยุทธ์ศาสตร์ 4IR ของ Digital ASEAN Community โดยมุ่งเน้นสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสมไม่ว่าจะเป็น การสรรหาบุคลากรผู้มีความสามารถและทักษะ แพลตฟอร์มเพื่อการทำงานร่วมกัน โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล การสนับสนุนด้านเงินทุน และความพร้อมข้อมูลและการแบ่งปันข้อมูล อย่างไรก็ตาม แผนงาน IR4.0 ของอินโดนีเซียมุ่งเน้นไปที่ภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น อาหารและเครื่องดื่ม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และเคมีภัณฑ์ตามรายงานของคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์

รัฐบาลไทยขานรับกรอบยุทธ์ศาสตร์ 4IR ของ Digital ASEAN Community โดยจัดสรรงบประมาณ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐในเดือนกรกฎาคม 2560 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อ (ก) ส่งเสริมธุรกิจผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทางเทคโนโลยีในท้องถิ่น (ข) จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ (DEPA) และคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ (NDEC) และ (ค) เพิ่มรายจ่ายด้านการวิจัยและพัฒนา

อาจจะกล่าวได้ว่า นโยบายที่มีวิสัยทัศน์และโดดเด่นที่สุดของไทยคือ “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 อย่างไรก็ดี ประเทศไทย 4.0 เป็นนโยบายทางเศรษฐกิจซึ่งส่งเสริมบทบาทของเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการหลุดพ้นสู่กระบวนทัศน์ใหม่โดย ประเทศไทย 4.0 สืบทอดวิสัยทัศน์จาก Thailand 1.0 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การเกษตร Thailand 2.0 ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมเบา และ Thailand 3.0 ซึ่งเน้นอุตสาหกรรมขั้นสูง

2022 – 2024 Thailand Industry Outlook, Krungsri Research
การดำเนินนโยบายมาเป็นเวลาหลายทศวรรษ ส่งผลให้อุตสาหกรรมของประเทศไทยเติบโตอย่างรวดเร็ว ยกระดับมาตรฐานการครองชีพอย่างไม่น่าเชื่อ ตัวอย่างเช่น GDP เพิ่มขึ้นมากกว่าสามเท่าตั้งแต่ปี 2000 ตามข้อมูลของธนาคารโลก อย่างไรก็ดี เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงกับดักรายได้ปานกลาง และ เพื่อที่จะบรรลุการเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายใน 20 ปี รัฐบาลไทยในปี 2558 จึงได้คิดค้นนโยบายเศรษฐกิจใหม่ภายใต้วิสัยทัศน์ที่ทะเยอทะยาน อันเป็นที่มาของ Thailand 4.0 หรือ ประเทศไทย 4.0

2022 – 2024 Thailand Industry Outlook, Krungsri Research
แม้ว่าจะถูกกำหนดด้วยมาตรฐานอันน่าเกรงขามอีกทั้งรัฐบาลไทยที่มีความทะเยอทะยานสูง แต่ Thailand 4.0 ก็ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่น โดยพบว่าการใช้จ่ายด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า เทียบได้เป็น 1% ของ GDP ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2560 ตามรายงานของสำนักงานอุดมศึกษาแห่งชาติ สภานโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม.

Office of the National Higher Education, Science, Research, and Innovation Policy Council
[Note: USD 1 = THB 0.31 approximately]
Article by: ASST.PROF. SUWAN JUNTIWASARAKIJ, PH.D.