ถือได้ว่าโรงงานอัจฉริยะคือตัวอย่างการลงทุนขั้นสูงสุดในเทคโนโลยีดิจิทัล การบรรจบกันของเทคโนโลยีล้ำสมัย การเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิต ความสะดวกของระบบอัตโนมัติและเชื่อมโยงข้อมูล เหล่านี้คือประโยชน์จาก Internet of Things (IoT), ปัญญาประดิษฐ์, หุ่นยนต์, เทคนิคการผลิตแบบเติมเนื้อผ้า และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ นำพาประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการด้านการผลิตที่ทันสมัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในสิงคโปร์เพราะมีปัจจัยอันยิ่งยวดคือการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 อย่างแข็งแกร่งจากรัฐบาลสิงคโปร์ และยังเป็นแหล่งแรงงานทักษะสูงของภูมิภาค ความก้าวหน้าของโรงงานอัจฉริยะนั้นไม่เกิดขึ้นจากรัฐบาลท้องถิ่นแต่เพียงเท่านั้นเท่านั้น พบว่าบริษัทขนาดใหญ่ต่างมีส่วนร่วมพลักดันด้วยเช่นกัน
ภาคการผลิตของไทยเริ่มนำแนวคิดโรงงานอัจฉริยะมาใช้ก็จริง แต่เหตุผลที่แท้จริงของการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นผลพวงทางอิทธิพลและแรงขับเคลื่อนจากบริษัทข้ามชาติและกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่เสียเป็นส่วนมาก ขณะนี้ประเทศไทยกำลังเปลี่ยนจากการเป็นภาคอุตสาหกรรมแบบมุ่งเน้นแรงงาน ไปสู่วิธีการผลิตที่ซับซ้อนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงที่ได้ชัดเจน ได้แก่ วิวัฒนาการของอุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมที่ได้ร่วมมือและร่วมงานกับกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในอุตสาหกรรมเกิดใหม่ ซึ่งได้รับการสนับสนุนด้านการลงทุนจากรัฐบาล อุตสาหกรรมเหล่านี้ได้แก่ การบำรุงรักษาการบินและการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และการลงทุนในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับโรงงานอัจฉริยะ อีกทั้งรัฐบาลได้สร้างแรงจูงใจให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมด้วยมาตรการลดหย่อนภาษี เพื่อนำให้เกิดความสามารถในการแข่งขันภาคการผลิตอย่างเป็นรูปธรรม


เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นตัวเลือกที่สำคัญสำหรับที่ตั้งโรงงานแห่งใหม่ ทั้งความได้เปรียบทางต้นทุน ร่วมกับแรงงานทักษะเฉพาะทาง และความสามารถในการเข้าถึงตลาดฝั่งตะวันตก ในแง่ของอัตราค่าจ้างที่ปรับตามประสิทธิภาพการผลิต เศรษฐกิจอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการแข่งขันสูงที่สุดในโลก Boston Consulting Group (BCG) ประมาณการว่าผลผลิตภาคการผลิตของอาเซียนจะเพิ่มขึ้นอีก 400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐถึง 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2030 แต่กลับมีรายงานว่าผู้ผลิตในเอเชียแปซิฟิกมากกว่า 45% กำลังเผชิญสถานการณ์ที่ตัวเองพยายามดิ้นรนอย่างมากที่จะทัดเทียมคู่แข่ง เนื่องจากขาดนวัตกรรม แรงงานที่มีทักษะ และเทคโนโลยี ตามรายงานของ Rockwell Automation ร้อยละ 44 ของผู้ผลิต APAC วางแผนที่จะนำการผลิตอัจฉริยะมาใช้ภายในปีหน้า อย่างไรก็ตาม อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดในการนำการผลิตอัจฉริยะมาใช้คือการที่พนักงานต่อต้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ การกลัวความเปลี่ยนแปลง การขาดทักษะในการจัดการและนำเทคโนโลยีไปใช้ ตลอดจนไปถึงขาดความชัดเจนเชิงแนวคิด ไม่สามารถตระหนักถึงมูลค่าและผลตอบแทนที่จะได้รับจากการลงทุนเพื่อนำการผลิตอัจฉริยะไปใช้ เป็นผลให้ 88% ของผู้ผลิต APAC วางแผนที่จะคงตัวเลขหรือแม้กระทั่งเพิ่มตัวการจ้างงาน สรรหาบุคลากร เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีเหล่านี้


รายงานจาก Precedence Research แสดงการคาดการณ์ว่าตลาดการผลิตอัจฉริยะทั่วโลก เติบโตด้วย CAGR ที่น่าประทับใจที่ 16% ในช่วง 2023 – 2032 พบว่าขนาดตลาด การผลิตอัจฉริยะทั่วโลกมีมูลค่า 226.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 และคาดว่าจะสูงถึง 985.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2032 ตลาดเติบโตเพราะแรงผลักดันอันได้แก่ความต้องการระบบเชื่อมต่อห่วงโซ่อุปทาน การผลิตบนฐานความรู้ที่มาพร้อมกับความสามารถในการสร้างแบบจำลอง การตรวจจับ การควบคุม และการจำลองขั้นสูง วิวัฒนาการ Industrial Internet of Things (IoT) ทำให้เกิดการผลิตแบบอัตโนมัติและการแปรรูปดิจิทัลครั้งใหญ่ นอกจากนี้ คาดว่าเทคโนโลยีคลาวด์ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่งทางอุตสาหกรรม (IIoT) และการวิเคราะห์ขั้นสูงทางอุตสาหกรรม จะมีบทบาทสำคัญในการเติบโตอย่างอย่างเป็นสัดส่วน
ตลาดการผลิตอัจฉริยะในเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าประมาณ 83.73 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 และคาดว่าจะเกิน 364.61 พันล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2032 โดยเติบโตที่ CAGR ที่ 15.9% ตั้งแต่ปี 2023 ถึง 2032 อีกทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครองส่วนแบ่งการตลาดซึ่งนับว่าที่มากที่สุดในโลก อยู่ที่ 37% โดยประมาณ ในปี 2565 และคาดว่าจะกลายเป็นภูมิภาคที่เติบโตเร็วที่สุดในช่วงคาดการณ์ปี 2023 ถึง 2032 ปรากฎการณ์แรงผลักดันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พึ่งอุบัติขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอุตสาหกรรมเผชิญกับข้อกำหนด กฎ ระเบียบ ด้านความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ มาตรฐานคุณภาพ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่มีมากขึ้น เทคโนโลยีการผลิตอัจฉริยะมีบทบาทสำคัญ ช่วยให้ผู้ผลิตปฏิบัติตามกฎระเบียบเหล่านี้ ผ่านกลไกการตรวจสอบ การตรวจสอบย้อนกลับ และการควบคุมคุณภาพแบบเรียลไทม์ ด้วยเหตุนี้ นโยบายของรัฐบาลและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ คาดว่าจะยังเกิดการขับเคลื่อนและเติบโตในอุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะในภูมิภาค ทั้งนี้เพื่อเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
บทสรุป
การเริ่มต้นอาจเป็นสิ่งเกินความท้าทาย ประเทศในกลุ่มอาเซียนกำลังลงมือสร้างโรงงานอัจฉริยะ โดยเริ่มต้นด้วยการลงทุนแบบมีทิศทางและเป้าหมายที่ชัดเจน ซึ่งจะทำให้เกิดการแปรรูปธุรกิจทางดิจิทัล ผลคือเกิดข้อมูลเชิงวิเคราะห์ที่สามารถนำสร้างคุณค่าในรูปแบบใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม การสร้างรวมถึงปรับเปลี่ยนขนาดของโรงงานอัจฉริยะจะมีความคล่องตัวและยืดหยุ่นนั้นเป็นไปได้และขึ้นอยู่กับการวางแนวคิดคอนเซ็ปต์แต่แรกเริ่ม ผู้ผลิตทุกรายไม่ว่าจะอยู่ในระดับใดก็ตามหรือแม้จะยังไม่มีเครือข่ายก็ตาม สามารถเริ่มต้นที่จะเปลี่ยนตัวเองให้เป็นโรงงานอัจฉริยะอย่างแท้จริงได้ และสามารถที่จะใช้แนวคิดการบริหารที่เน้นคล่องตัวเพื่อให้เกิดการเติบโตด้วยวิธีใช้กระบวนการเดิมที่ประสบความสำเร็จ การเริ่มต้นจากการทดลองเล็กๆ เพื่อทดสอบแนวคิดในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้ จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพกว่าการคิดใหญ่ทำใหญ่ เมื่อทดสอบเป็นผลสำเร็จแล้วจึงปรับขนาดได้ในภายหลังโดยอาศัยบทเรียนการลงมือทำจริง สามารถขยายผลไปยังหน่วยงาน สายการผลิต และโรงงานเพิ่มเติมได้ ซึ่งทำให้เกิดโอกาสในการสร้างมูลค่าแบบทวีคูณ

Article by: Asst. Prof. Suwan Juntiwasarakij, Ph.D., Senior Editor & MEGA Tech