Industry 4.0

การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ในประเทศไทยและเอเชีย

Share with

การปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้นไม่ใช่เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพียง แต่การปฏิบัติอุตสาหกรรมสร้างมูลค่าอีกทั้งยังเปลี่ยนแปลงกลไกลสังคมและระบบแห่งอำนาจ การปฏิวัติดังกล่าวปรากฎขึ้นในรูปแบบเหตุการณ์ที่เรียงร้อยกันอย่างต่อเนื่อง เช่น เทคโนโลยีใหม่ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมและระบบกลไกโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ในการผลิตและการเคลื่อนย้ายสินค้า ส่วนการโทรคมนาคมสื่อสารข้อมูลนั้นนับว่าเป็นปัจจัยทรงอิทธิพลขับเคลื่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อมีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ผลผลิตที่ได้ไม่ว่าจะเป็นสินค้าและบริการย่อมเปลี่ยนไป และในส่วนของการจัดองค์กรและการใช้แรงงานในโรงงานก็เช่นกัน

แนวคิด “การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สี่” (4IR) ที่เกิดขึ้นเมื่อ 2016 คือผลพวงส่องสะท้อนการทิศทางพัฒนาการของอุตสาหกรรมที่มุ่งไปสู่หมุดหมายอันได้แก่อุตสาหกรรมอัจฉริยะและเป้าหมายทางการผลิต ประเทศในอาเซียนรวมถึงประเทศไทยเองก็ตาม กำลังประสบภาวะการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อันเนื่องจากระบบอัตโนมัติ การเชื่อมต่อแบบยิ่งยวด เทคโนโลยีคลาวด์ เทคโนโลยีเสมือนจริงและความจริงเสริม ปัญญาประดิษฐ์ แมชชีนเลิร์นนิง อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่อื่นใด

Framing industrial revolutions
Source: “Seizing opportunities: ASEAN country cluster readiness in light of the fourth industrial revolution” in Asia and the Global Economy, 2(1) by P Enzmann, M Moesli

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เป็นตัวแทนของเศรษฐกิจโลกที่ใหญ่เป็นอันดับ 5 ด้วย GDP 3.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ภูมิภาคนี้มีประชากรมากกว่า 630 ล้านคนและเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีพลวัตมากที่สุดในแง่ของเศรษฐกิจ วัฒนธรรม และการเมือง บรรดาประเทศสมาชิก ต่างเผชิญกับความท้าทายเชิงวิสัยทัศน์และการดำเนินการตามแนวคิด 4IR ตัวอย่างความท้าทายเชิงวิสัยทัศน์ เช่น กลยุทธ์หลักของสิงคโปร์คือปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและแนวปฏิบัติ ความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อพัฒนาบุคลากรรุ่นใหม่ และการร่วมมือกับชุมชนภาคการผลิต กรอบนโยบายอุตสาหกรรม 4.0 ของมาเลเซียมุ่งเสริมสร้างการเติบโตของผลิตภาพแรงงาน การสนับสนุนด้านการผลิตต่อเศรษฐกิจ ขีดความสามารถด้านนวัตกรรม และงานที่ใช้ทักษะขั้นสูง “Making Indonesia 4.0” เน้นย้ำประเด็นด้าน การเสริมศักยภาพ SME, ระบบนิเวศน์ทางนวัตกรรม, การลงทุนด้านเทคโนโลยี และกำหนดตัวบทกฎหมายเพื่อสนับสนุนและขับเคลื่อน ส่วนวิสัยทัศน์อุตสาหกรรม 4.0 ของเวียดนามมุ่งหมายเพื่อเป็นกลไลหล่อลื่นการเติบโตทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต การป้องกันประเทศ และสิ่งแวดล้อม

ดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาลโดย Oxford Insights เป็นอีกเครื่องมือการประเมินเพื่องาน 4IR ตามรายงานของ Oxford Insights ดัชนีความพร้อมด้าน AI ของรัฐบาลนี้ ได้มาจากการประเมินตัวแปรปัจจัยสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง ดัชนีนี้ช่วยให้รัฐบาลเตรียมพร้อมการใช้บริการ AI ในประเทศของตนได้ดียิ่งขึ้น แกนการประเมินที่นำประมวลตัวดัชนี ได้แก่ รัฐบาล ภาคเทคโนโลยี ข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐาน รัฐบาลทั่วโลกหันมาใช้ AI เพื่อปรับปรุงบริการสาธารณะ สร้างความได้เปรียบทางเศรษฐกิจเชิงกลยุทธ์ อย่างไรก็ตามการสร้างจุดยืนทางด้านเทคโนโลยี AI ที่เป็นคุณและเป็นประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนี้ รัฐจำเป็นต้องมีกลไกและโครงสร้างที่สนับสนุนการทำงานของกลไกดังกล่าวที่สอดคล้องเหมาะสม ในรายงาน Government AI Readiness Index 2021 นับว่าเป็นครั้งแรกที่ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกจำนวน 5 ประเทศติดโผ 20 อันดับโลกที่ได้คะแนนสูงสุด ประเทศที่ได้รับคะแนนสูงสุดในภูมิภาคตามที่กล่าวนี้เป็นผลพวงมาจากการเร่งรัดส่งเสริมพัฒนาทักษะแรงงานและการวิจัยขั้นสูงโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี

The pillars and dimensions of the Government AI Readiness Index
Source: Government AI Readiness Index 2021, Oxford Insights

สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวที่มีความพร้อมด้าน 4IR มากที่สุด ในขณะที่สมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่มีความพร้อมในระดับปานกลาง มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียนมีขนาดใหญ่พ่อที่จะได้รับการจัดอันดับอยู่ในห้าอันดับแรกของโลกในปี 2025 นำโดยอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม ความสามารถของรัฐบาลในการเก็บเกี่ยวศักยภาพด้านนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ของอาเซียนนั้นดีกว่าค่าเฉลี่ยของโลกและของเอเชียแปซิฟิก สำหรับอินโดนีเซีย ไทย สิงคโปร์ และมาเลเซียนั้น เป็นประเทศในอันดับต้น ๆ ที่ใช้เทคโนโลยี AI ในอาเซียนในอัตรา 24.7%, 17.1%, 99.9% และ 8.1% ตามลำดับ และแม้ว่าจะเป็นเช่นนั้นก็ตาม แต่ก็ยังพบว่าความเหลื่อมล้ำทางความพร้อมด้าน 4IR ของประเทศสมาชิกอาเซียนก็ยังคงอยู่

ย้อนมาดูพัฒนาการในประเทศไทย ซึ่ง GSMA ได้เผยแพร่รายงานประจำปีสังคมดิจิทัล ฉบับที่ 6 สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีเนื้อหาที่เน้นที่แง่มุมความเป็นสังคมดิจิทัล เป็นข้อมูลที่ช่วยให้รัฐบาลนำไปเพื่อบริหารวิกฤตและโอกาสสังคมดิจิทัลและการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รายงานระบุว่าประเทศไทยมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องในด้านคะแนนสังคมดิจิทัล ทั้งนี้เนื่องจากประชากรมีไลฟ์สไตล์ดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างเช่น ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 สหพันธ์อีสปอร์ตแห่งประเทศไทยได้ให้การยอมรับและรับรอง “อีสปอร์ต” ให้มีฐานะเป็นกีฬาอาชีพในประเทศไทย การเคลื่อนไหวทางดิจิทัลนี้จะเป็นประตูเปิดไปสู่โอกาสและพัฒนาการไปสู่สังคมดิจิทัลของภูมิภาค ร่วมถึงการพัฒนาตามแนวคิดอุตสาหกรรม 4.0 อีกด้วย


นอกจากนี้ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA) กำลังดำเนินการออกกฎหมายเพื่อแทนที่บัตรประจำตัวประชาชนด้วยการยืนยันอัตลักษณ์แบบดิจิทัล นี่คือก้าวเดินไปสู่ระบบการจัดการอัตลักษณ์ดิจิทัล โดยนำเอาเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เป็นกลไกการตรวจสอบที่รวดเร็ว ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ ระบบการจัดการอัตลักษณ์ดิจิทัลนี้ จะช่วยให้คนไทยรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างสมบูรณ์ เพราะจะมีแต่เพียงเจ้าของข้อมูลเพียงบุคคลเดียวเท่านั้นที่มีสิทธิ์ในการอนุมัติหรือปฏิเสธการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล

Digital society scores
Source: GSMA Intelligence

Article by: Asst. Prof. Suwan Juntiwasarakij, Ph.D. & MEGA Tech

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *