Manufacturing Trends

การผลิตพลังงานทดแทน สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

Share with

การผลิตพลังงานทดแทนได้เติบโตอย่างแข็งแกร่งมั่นคงในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และรัฐบาลและบริษัทเอกชนจำนวนมากมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมาย “เน็ต-ซีโร่ (Net-Zero)” ในขณะเดียวกัน ความต้องการพลังงานยังคงเพิ่มขึ้น และการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิลก็เพิ่มขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าง ส่วนแบ่งพลังงานปฐมภูมิในปัจจุบันจากเชื้อเพลิงฟอสซิลยังคงครอบครอบตลาดซึ่งลดลงเพียงเล็กน้อย ตัวอย่างเช่น การผลิตถ่านหินในอินเดียและจีนเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านตันตั้งแต่ปี 2021 เนื่องจากความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นในทั้งสองประเทศ ส่งผลให้การผลิตถ่านหินในจีนเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์และเกือบ 30 เปอร์เซ็นต์ในอินเดีย ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียก็มีผลิตถ่านหินเพิ่มเติม 260 ล้านตันในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

Primary Energy Consumption
Credits: The energy transition: A region-by-region agenda for near-term action by McKinsey & Company

อย่างไรก็ดี ความแตกต่างระหว่าง พลังงานหมุนเวียน และ การผลิตการบริโภคเชื้อเพลิงฟอสซิล ยังคงอยู่อย่างมีนัยยะสำคัญ จึงจำเป็นที่จะต้องทำให้การผลิตและการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลนี้หมดไป การดำเนินการจะต้องเป็นไปอย่างเด็ดเดี่ยวและเด็ดขาด แม้จะมีแผนการเติบโตของพลังงานหมุนเวียน แต่โลกก็ยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการเน็ต-ซีโร่ได้ ทั้งนี้รายงานจาก McKinsey ได้กล่าวว่า อัตราการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะรักษาภาวะโลกร้อนตามเป้าหมายทั่วโลกที่กำหนดโดยข้อตกลงปารีสที่นำมาใช้ในการประชุม COP21 ในปี 2021

Net Energy-Related Annual Emissions by Scenario
Credits: The energy transition: A region-by-region agenda for near-term action by McKinsey & Company

ความเสี่ยงทางด้านสภาพอากาศปรากฎชัดเจนมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามรายงานการประเมินครั้งที่ 6 ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ของสหประชาชาติ มีการคาดการณ์นโยบายปัจจุบัน จะนำพาไปสู่ภาวะโลกร้อน เฉลี่ยที่ 2.4 C ถึง 3.5 C ภายในปี 2100 และทำให้การจำกัดภาวะโลกร้อนอยู่ที่ 1.5 C เป็นสิ่งไกลเกินเอื้อม เพื่อลดช่องว่างนี้ กำลังการผลิตติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมต่อปี โลกจะต้องเพิ่มอัตราการผลิตพลังงานดังกล่าวให้มากขึ้นเกือบสามเท่า จากประมาณ 180 กิกะวัตต์ (GW) ของกำลังการผลิตติดตั้งเฉลี่ยต่อปีในปี 2016-2021 เป็นมากกว่า 520 กิกะวัตต์ในทศวรรษข้างหน้า ซึ่งความเร่งด่วนนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค

Average Yearly Installed Capacities of Solar and Wind
Credits: The energy transition: A region-by-region agenda for near-term action by McKinsey & Company

McKinsey ได้ศึกษาและกำหนด 5 ต้นแบบ ของของประเทศที่เผชิญกับความท้าทายและโอกาสที่คล้ายคลึงกันในเส้นทางการดำเนินการเพื่อให้บรรลุแนวคิดเน็ต-ซีโร่ แม้แต่ละประเทศมีความแตกต่างกัน แต่ต้นแบบเหล่านี้มุ่งเน้นที่การลงมือทำ และการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ต้องลงมือทำ เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานเป็นไปอย่างราบรื่น การจัดหมวดหมู่ของประเทศต่างๆ นี้แสดงถึงความเหลื่อมล้ำความไม่เท่าเทียมกันของ ภาระของการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และความสามารถของแต่ละภูมิภาคในการตอบสนองต่อความท้าทายในการปรับตัวและการบรรเทาผลกระทบ ดังนั้นระดับของความร่วมมือและการประสานงานกันในระดับโลกในปัจจุบันนั้นยังไม่เพียงพอ ตัวอย่างเช่น มีความคืบหน้าเกิดขึ้นในการระดมเงินทุนภาครัฐและเอกชนสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ทว่าการวิเคราะห์ของ OECD บ่งชี้ว่าเป้าหมายว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2020 ไม่น่าจะบรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ ต้นแบบทั้งห้าถูกจำแนกตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่สำคัญได้แก่

  1. ประเทศที่มั่งคั่งและมั่นคงด้านพลังงาน
  2. ประเทศที่มั่งคั่งและใช้พลังงานน้อย
  3. เศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่ปล่อยมลพิษสูง
  4. เศรษฐกิจกำลังพัฒนาที่มีอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
  5. เศรษฐกิจกำลังพัฒนาที่มีความเสี่ยง
Short-Term Risk: Relative Energy Security: CO2 Intensity
Credits: The energy transition: A region-by-region agenda for near-term action by McKinsey & Company

Long-Term Opportunity: Relative Potential from Wind and Solar; Presence of Critical Materials
Credits: The energy transition: A region-by-region agenda for near-term action by McKinsey & Company

ศักยภาพในการนำพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้นั้นมีความแตกต่างตามภูมิภาค ตัวอย่างเช่น แอฟริกา ออสเตรเลีย และตะวันออกกลาง มีศักยภาพที่ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์อย่างมหาศาล ในขณะที่อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ และยุโรปเหนือ มีความหนาแน่นของพลังงานลมสูง การเปลี่ยนแปลงไปสู่พลังงานหมุนเวียนมีจึงขึ้นอยู่กับลักษณะทางทรัพยากรของแต่ละประเทศ

เน็ต-ซีโร่ กำลังก่อตัว เป็นรูปเป็นร่าง โดยมีประเทศมากกว่า 90% ในโลกได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะดำเนินการตามแนวคิดเน็ต-ซี อย่างไรก็ดี การวิจัยของ Accenture ระบุว่าบริษัท G2000 (รายชื่อบริษัทมหาชนและเอกชนชั้นนำของโลก 2,000 แห่งที่รวบรวมโดย Accenture โดยพิจารณาตามรายได้) ที่ได้ปฏิญาณตนตามแนวคิด เน็ต-ซีโร่ จะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้หากสถานการณ์ยังคำดำเนินไปอย่างเช่นในปัจจุบัน และการลดก๊าซเรือนกระจกยังคงเป็นวาระเร่งด่วนที่สุด บริษัทในกลุ่ม Accenture G2000 ในทุกภูมิภาค ได้กำหนดกำหนดเป้าหมายเน็ต-ซีโร่อย่างเปิดเผยชัดเจนต่อสาธารณะ กลุ่มตัวอย่างโดยรวมเพิ่มขึ้นเจ็ดเปอร์เซ็นต์ ในอุตสาหกรรมเกือบทั้งหมด พบว่าบริษัทที่ตั้งเป้าหมายเน็ต-ซีโร่ มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นในปีที่ผ่านมา และมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกความเข้มข้นสูง

G2000 Companies with Net-Zero Targets
Credits: Accelerating Global Companies toward Net-Zero by 2050 by Accenture

G2000 Companies with Net-Zero Targets by Industry
Credits: Accelerating Global Companies toward Net-Zero by 2050 by Accenture

Article by: Asst. Prof. Suwan Juntiwasarakij, Ph.D., Senior Editor & MEGA Tech

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *