บริษัทขนส่งรายใหญ่ ๆ ที่ต่างทยอยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนจากฝูงรถของตน มักให้ความสำคัญกับเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำ เช่น ก๊าซธรรมชาติและเชื้อเพลิงชีวภาพ มากกว่าที่จะเป็นการขนส่งปลอดมลพิษโดยสิ้นเชิง การนำเชื้อเพลิงเหล่านี้มาใช้เป็นก้าวสำคัญสู่การขนส่งเชิงพาณิชย์อย่างยั่งยืน ซึ่งย่าวก้าวแห่งการเปลี่ยนผ่านที่นำไปสู่การขนส่งไร้มลพิษในเชิงพาณิชย์ ในขณะเดียวกัน การขับเคลื่อนที่ปลอดมลพิษอย่างแท้จริง เช่น รถบรรทุกไฟฟ้าหรือรถบรรทุกพลังงานไฮโดรเจน กำลังเผชิญกับอุปสรรคสำคัญที่ทำให้การนำมาใช้ล่าช้าการเปลี่ยนไปสู่รถบรรทุกปลอดมลพิษต้องการมากกว่าการเปลี่ยนเครื่องยนต์ โดยจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทั้งหมด ผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม (OEMs) กำลังลงทุนอย่างมากในการพัฒนา การผลิต และการขายระบบขับเคลื่อนใหม่ พร้อมทั้งเพิ่มการใช้ดิจิทัลให้มากขึ้น สิ่งที่ตามมาคือการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์และบริษัทสาธารณูปโภคต้องเตรียมรับมือกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในระบบไฟฟ้าของตน นอกจากอุปสงค์ดังกล่าวแล้ว ผู้ประกอบการกองรถยังคงลังเลที่จะเปลี่ยนแปลง เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเงิน กรณีธุรกิจที่ซับซ้อน และอุปสรรคในการดำเนินงาน
ผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิม (OEMs) และซัพพลายเออร์ต่างก็มีโจทย์ที่ตนเองจะต้องหาทางแก้ ไม่ว่าจะเป็น จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มยานยนต์ปลอดมลพิษ (ZEV) อย่างครอบคลุม สร้างห่วงโซ่อุปทานใหม่ที่รองรับผลิตภัณฑ์นี้ ขยายกำลังการผลิต และลดต้นทุนการผลิตอย่างมีนัยสำคัญ ในแง่ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันพบว่าผู้ผลิตอุปกรณ์ดั้งเดิมต้องออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่และสร้างสายผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เหมาะสำหรับตลาดรถบรรทุกปลอดมลพิษ ซึ่งควรจะต้องรวมถึงการสร้างกลยุทธ์แพลตฟอร์มที่ให้ความสำคัญกับตัวเลือกระบบขับเคลื่อนและสเปกสำคัญ เช่น กำลังขับเคลื่อน ขนาดแบตเตอรี่ และน้ำหนักบรรทุก ผู้ผลิต OEMs ต้องหาจุดสมดุลระหว่างการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สามารถแข่งขันได้ในกลุ่มตลาดที่สำคัญและการควบคุมต้นทุนการพัฒนาและความซับซ้อนในการดำเนินงาน

Source: Zero Emission Trucks: Current hurdles and how to overcome them, Deloitte
การใช้รถบรรทุกที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์เพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ปี 2020 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) เป็นเจ้าตลาด แต่คาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ภายในปี 2030 เช่น คาดว่ารถบรรทุกไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ (BET) ในอเมริกาเหนือ จะครองส่วนแบ่งตลาดประมาณ 20% ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มอุตสาหกรรมจิสติกส์ที่หันไปมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น และยังคาดว่ารถบรรทุกไฟฟ้าที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง (FCET) ในจีนและยุโรป คิดเป็นประมาณ 27% ของยอดขายรถบรรทุกทั้งหมด โดยกฎระเบียบที่เข้มงวดและการลงทุนที่สำคัญในโครงสร้างพื้นฐานด้านการชาร์จเป็นแรงพลักดัน ในขณะเดียวกันรถบรรทุกไฟฟ้าที่ใช้เซลล์เชื้อเพลิง (FCET) ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแม้ว่าจะช้ากว่าก็ตาม การเพิ่มขึ้นของ FCET นับว่าเป็นตัวเลือกเสริมสำหรับการขนส่งไร้มลพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่ต้องใช้ระยะทางไกลขึ้นและเติมน้ำมันได้เร็วขึ้น การพัฒนาร่วมกันเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญไปสู่เทคโนโลยีที่สะอาดขึ้น ซึ่งได้รับแรงกระตุ้นจากมาตรฐานการปล่อยมลพิษที่เข้มงวด ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับการขนส่งที่ยั่งยืน

Source: Truck Study 2024: The diversification of battery-electric truck platforms will shape the next phase of the eMobility revolution McKinsey
ตลาดรถบรรทุกทั่วโลกสามารถแบ่งออกเป็น 6 กรณีการใช้งานหลัก โดยการขนส่งระยะไกล การขนส่งสายหลัก และการกระจายสินค้าเป็นส่วนที่ส่งผลกระทบต่อการปล่อยมลพิษมากที่สุด เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของลูกค้า ทั้งรุ่นมาตรฐานและรุ่นระยะทางไกลจะมีความจำเป็นสำหรับกลุ่มเหล่านี้ นวัตกรรมเฉพาะสำหรับรถบรรทุกจะมีบทบาทสำคัญในการสร้างความแตกต่างในตลาด โดยช่วยเพิ่มระยะทาง ลดต้นทุน และปรับปรุงความเร็วในการชาร์จไฟ ตลอดจนถึงปี 2030 จะมีปัจจัยเทคโนโลยีสำคัญ 3 ประการที่ขับเคลื่อนการใช้รถบรรทุกไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BETs) แม้ว่าต้นทุนเริ่มต้นที่สูงขึ้นของ BETs จะเป็นความท้าทาย แต่ต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มที่ชัดเจนไปสู่การใช้พลังงานไฟฟ้า ปัจจัยต้นทุนหลักคือเซลล์แบตเตอรี่ ซึ่งทำให้การลงทุนใน BETs สูงกว่ารถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) แบบดั้งเดิม การจัดการต้นทุน TCO และค่าความเสื่อมราคาอย่างมีประสิทธิภาพจะเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำให้ BETs คุ้มค่าในเชิงเศรษฐกิจ

Source: Truck Study 2024: The diversification of battery-electric truck platforms will shape the next phase of the eMobility revolution McKinsey
ตั้งแต่ปี 2025 เป็นต้นไป คาดว่ารถบรรทุกไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BETs) จะสามารถสร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนรวมในการเป็นเจ้าของ (TCO) ในหลายกรณีการใช้งาน โดยเฉพาะในงานที่เน้นประสิทธิภาพด้านระยะทางและน้ำหนักบรรทุก สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีการแข่งขันของราคาพลังงานและระบบการชาร์จในตลาด ประสิทธิภาพของ BETs และประสิทธิภาพในการเข้าใช้งานโครงสร้างพื้นฐานการชาร์จเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ TCO กฎระเบียบการปล่อยคาร์บอนที่เข้มงวดและความได้เปรียบด้าน TCO ในภูมิภาคและรูปแบบการใช้งานอันหลากหลาย จะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่การขนส่งด้วยยานยนต์ไฟฟ้า ปัจจัยสำคัญที่ผลักดันการเปลี่ยนแปลงนี้ ได้แก่ ต้นทุนพลังงานและความจริงจังที่จะลดการปล่อยคาร์บอน คาดว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้าภายในปี 2030 การขนส่งมากกว่า 20% โดยได้รับแรงผลักดันจากการนำรถบรรทุกขนาดใหญ่และรถโดยสารในเมืองมาใช้ และภายในปี 2040 BETs คาดว่าจะครองตลาดด้วยส่วนแบ่ง 90%

Source: Truck Study 2024: The diversification of battery-electric truck platforms will shape the next phase of the eMobility revolution McKinsey

Source: e.Volution GmbH
เมื่ออุตสาหกรรมขนส่งกำลังเผชิญกับความซับซ้อนของการลดการปล่อยคาร์บอน การขนส่งไร้มลพิษไม่เพียงแต่ต้องการความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเท่านั้น แต่ยังต้องการวิธีการที่เป็นนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืนอีกด้วย บริษัทที่มุ่งเน้นการใช้โมดูลาร์ ความทนทาน และโซลูชั่นที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางของการเปลี่ยนแปลงนี้ e.Volution GmbH เป็นตัวอย่างของนวัตกรรมที่ยั่งยืน โดยแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่การขนส่งที่ไม่ปล่อยมลพิษสามารถนำมาซึ่งความทนทานและประสิทธิภาพพร้อมกับลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างไร ด้วยการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้า (EVs) ที่มีส่วนประกอบโมดูลาร์และโครงสร้างที่ทำจากอะลูมิเนียม e.Volution ขยายอายุการใช้งานของยานพาหนะได้สูงสุดถึง 50 ปี ลดขยะและส่งเสริมการใช้เศรษฐกิจหมุนเวียน การบูรณาการระบบขยายระยะการเดินทางด้วยเซลล์เชื้อเพลิงและการขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ไฟฟ้าช่วยให้สามารถเดินทางระยะไกลได้โดยไม่ลดทอนความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การร่วมมือกับสถาบันการศึกษาเช่น RWTH Aachen University ช่วยให้ e.Volution พัฒนาเทคโนโลยีการประกอบใหม่เพื่อการอัปเกรดเป็นระยะ ๆ ทำให้ยานพาหนะยังคงมีความทันสมัยและคุ้มค่า บริษัทนี้จึงมีบทบาทสำคัญในการรับมือกับความท้าทายของการลดการปล่อยคาร์บอน โดยนำเสนอโซลูชั่นที่ยั่งยืนและสามารถขยายได้ ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมและเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป
Article by: Asst. Prof. Suwan Juntiwasarakij, Ph.D., Senior Editor & MEGA Tech